เมื่อคอมพ์จะเข้าใจคน

เป็นความพยายามอันยาวนานของมนุษยชาติ ในการคิดค้นเทคนิคและวิทยาการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำใน
สิ่งที่มนุษย์ทำได้ หรือเลียนแบบมนุษย์ ปัจจุบันเราจึงเห็นการนำหุ่นยนต์ หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานหลายด้าน เนื่องจากหุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ไม่ขี้เกียจ ไม่เหนื่อยล้า ไม่บ่น เพียงแค่ต้องดูแลบำรุงรักษาบ้างเท่านั้น
ปัจจุบัน แม้หุ่นยนต์จะเริ่มเคลื่อนไหวได้คล้ายคลึงกับคนมากขึ้น เริ่มพูดออกเสียงได้ใกล้เคียงคนมากขึ้น แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำได้นั่นคือ การเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของมนุษย์ นั่นเพราะโครงสร้างการแสดงออก ซึ่งความรู้สึกของมนุษย์นั้นซับซ้อน แล้วถามว่าในเมื่อมันเข้าใจยากขนาดนี้ยังอยากจะทำกันอีกหรือ คำตอบก็คือ อยากทำครับ เพราะนี่คือความท้าทายนั่นเอง
แล้วการจะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจความรู้สึกของมนุษย์ต้องทำอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์แสดงออก ซึ่งความรู้สึกอย่างไรกันบ้าง ผ่านช่องทางไหนบ้าง ปัจจุบันเราได้เห็นวิทยาการหรือเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ตรวจจับความรู้สึกบางอย่าง จากการแสดงออกของคนได้ เช่น สีหน้า และมีกล้อง หรือแอพพลิเคชั่นมากมาย ที่สามารถตรวจจับและบอกได้ว่าคนที่อยู่ในรูปกำลังยิ้ม กำลังหัวเราะ หรือกำลังร้องไห้ ทั้งหมดนี้อาจบอกได้เพียงว่า คนกำลังทำท่าทางอะไรอยู่ แต่การจะบอกว่าคนคนนั้นกำลังรู้สึกอย่างไร คงต้องประมวลผลกันต่ออีกพอสมควร
มีเทคนิคมากมายด้าน Machine Learning คือ การให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ข้อมูลจำนวนหนึ่ง จนสามารถแยกแยะความแตกต่างอันน้อยนิดแต่มีนัยสำคัญได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ปัจจุบันทำได้ แต่จะถือว่าคอมพิวเตอร์เข้าถึงหัวใจ เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แล้วหรือเปล่า คำตอบนั้น รอเราอยู่ในอนาคตครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.